for English readers please see the comments section below for a brief summary
ชื่อโครงการ โครงการจัดกิจกรรมสร้างสำนึกร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำแม่ข่า ด้วยมิติทางวัฒนธรรม
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชุมชนหลิ่งกอกและชุมชนศรีมงคล
ลักษณะโครงการ เป็นโครงการใหม่
หลักการและเหตุผล
“น้ำแม่ข่า” หรือคลองแม่ข่า เป็นหนึ่งในไชยมงคลเจ็ดประการของการเลือกพื้นที่สร้างเมืองเชียงใหม่โดยพญา มังรายหรือพ่อขุนเม็งรายมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 1839 หรือ 715 ปีมาแล้ว ในอดีตน้ำแม่ข่ามีความสำคัญอย่างยิ่งและได้เอื้อประโยชน์อย่างใหญ่หลวงใน ด้านต่างๆ เช่น เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ ใช้เพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค และยังมีความสำคัญในทางยุทธศาสตร์ในฐานะเป็นคูเมืองชั้นนอกของเมือง เชียงใหม่ทางด้านใต้และตะวันออกด้วย เป็นการเพิ่มความมั่นคงคั่นกลางอยู่ระหว่างคูน้ำรอบตัวเวียงกับน้ำแม่ปิงและ เอื้อต่อวิถีวัฒนธรรม ตลอดจนการดำเนินชีวิตของชาวเมืองเชียงใหม่มาช้านาน แต่ในสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 20-30 ปี ที่ผ่านมา น้ำแม่ข่าได้ประสบสภาวะเสื่อมโทรมอย่างรุนแรง เกิดความเน่าเสีย จนเกิดหมดสภาพความเป็นแหล่งน้ำที่จะใช้ประโยชน์ใดๆได้ เนื่องจากมีการปล่อยน้ำเสีย การทิ้งขยะมูลฝอยลงสู่น้ำแม่ข่า ปริมาณน้ำก็มีน้อยลง โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งหลายหน่วยงานได้พยายามฟื้นฟูให้น้ำแม่ข่ามีคุณภาพน้ำที่ดีขึ้น แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
จากการศึกษาข้อมูลและการลงพื้นที่ปฏิบัติงานโดย หน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนักศึกษา คณาจารย์ ทำให้ทราบปัญหาน้ำแม่ข่าหลายประการ เช่น ปัญหาการปล่อยน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลลงสู่น้ำแม่ข่า โดยไม่ผ่านการบำบัดอย่างถูกต้อง ปัญหาการทิ้งขยะ ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม ปัญหาการทำลายภูมิทัศน์และระบบนิเวศธรรมชาติริมน้ำแม่ข่า ปัญหาการรุกล้ำน้ำแม่ข่า ปัญหาวัชพืช ปัญหาการระบายน้ำ ปัญหาการทำลายแหล่งพื้นที่ต้นน้ำและเส้นทางน้ำสาขาที่ไหลลงสู่น้ำแม่ข่า ปัญหาการขาดความร่วมมือและการบริหารจัดการดูแลบำรุงรักษาแหล่งน้ำที่เป็น ระบบอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นชุมชนหลิ่งกอกและชุมชนศรีมงคลจึงได้จัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึก ร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำแม่ข่า 1 ใน 7 ชัยมงคล โดยการนำเอามิติทางประเพณีวัฒนธรรมของล้านนาไทย คือการจัดกิจกรรมประเพณีเดือนยี่เป็ง สองฝั่งน้ำแม่ข่าที่ผ่านพื้นที่ชุมชนหลิ่งกอกและชุมชนศรีมงคล ดังนี้
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาส ทรงเจริญพระชนมายุครบ 84 พรรษา
- เพื่อร่วมรักษาวัฒนธรรมและประเพณีเดือนยี่เป็ง พิธีสู่ข้าวเอาขวัญและพิธีสืบชะตาของล้านนา
- เพื่อสร้างและปลุกจิตสำนึกให้คนในชุมชนและทุกภาคส่วนได้ร่วมกันอนุรักษ์ ฟื้นฟูพัฒนาน้ำแม่ข่า ให้เป็นพื้นที่นันทนาการในการจัดกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนดียิ่งขึ้น
- เพื่อหารายได้นำไปจัดตั้งกองทุนเฝ้าระวังน้ำแม่ข่า เพื่อให้น้ำแม่ข่าที่ผ่านชุมชนหลิ่งกอกพัฒนาเป็นต้นแบบ ด้วยการมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ หรือยกเป็น ”หลิ่งกอกโมเดล” อย่างยั่งยืน
- เพื่อความสามัคคีของคนในชุมชน
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่มาจากชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 500 คน
เชิงคุณภาพ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของน้ำแม่ข่า มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำแม่ข่า และเฝ้าระวังร่วมกัน
วัน เวลา สถานที่ดำเนินการ
- วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือนยี่เหนือ เป็นวันตกแต่ง ดา (เตรียมงาน)
- วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน 2554 ตรงกับวันแรม 3 ค่ำ เดือนยี่เหนือ เป็นวันจัดงาน
- สถานที่ จัดกิจกรรมริมน้ำแม่ข่า ด้านหลัง โบสถ์คริสจักรและด้านหลังโรงพยาบาลเซนต์ปีเตอร์
กิจกรรมที่จะดำเนินการ
- จัดกิจกรรมพิธีสู่ข้าวเอาขวัญให้น้ำแม่ข่า
- จัดกิจกรรมพิธีสืบชะตาให้น้ำแม่ข่า ซึ่งเป็น 1 ใน 7 ชัยมงคลในการสร้างเมืองเชียงใหม่
- จัดพิธีไถ่ชีวิตปลา จำนวน 840 ตัว(ซื้อจากแม่ค้าในตลาด) เพื่อปล่อยลงน้ำแม่ข่า
- จัดพิธีลอยกระทง(ขนมปังเพื่อเป็นอาหารปลา) ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในน้ำแม่ข่า
- จัดนิทรรศการเกี่ยวกับน้ำแม่ข่า โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- จัดพิมพ์หนังสือ “น้ำแม่ข่า แม่ของเมืองนพบุรี ศรีนครพิงค์”
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ
- ประสานกับเจ้าของที่ดินที่ว่างที่ติดริมน้ำแม่ข่า(หลังโบสถ์คริสจักร) เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดงาน
- ประสานขอความร่วมมือจากเทศบาลนครเชียงใหม่เพื่อให้ปล่อยน้ำเพิ่มมากขึ้น
- เสนอโครงการไปยังหน่วยงาน องค์กร สถาบันการศึกษา สมาคม ชมรม สโมสร ฯลฯ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
- เรียนเชิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และทุกภาคส่วน ตลอดจนคณาจารย์และนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สภาวัฒนธรรม, หอการค้า, สโมสรไลออนส์ ฯลฯ และตัวแทนชุมชนต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรม
- จัดประชาสัมพันธ์แถลงข่าวร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อให้เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากประเพณีเดือนยี่เป็งของเทศบาลที่จัดขึ้น ประจำปี
- เชิญสื่อมวลชนทุกแขนงร่วมกิจกรรมทำข่าวเผยแพร่ในวันจัดงาน
งบประมาณที่จะนำมาดำเนินการ
- เตรียมสถานที่ตั้งเต็นท์โต๊ะเก้าอี้ สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ปล่อยปลา ลอยกระทง = 10,000 บาท
- จัดอุปกรณ์เครื่องพิธีสืบชะตา (ขนาดใหญ่) ขันผูกมือ = 10,000 บาท
- เครื่องไทยทานถวายพระสงฆ์ ชุดละ 500 บาท 12 ชุด = 6,000 บาท
- ปัจจัยถวายพระพุทธ พระสงฆ์ อาจารย์ประกอบพิธี 12 ซอง ซองละ 1,000 บาท = 12,000 บาท
- ซื้อปลาจากตลาด จำนวน 840 ตัว ตัวละ 10 บาท = 8,400 บาท
- ซื้อกระทงขนมปัง เพื่อเป็นอาหารปลา 200 ชุด ชุดละ 40 บาท = 8,000 บาท
- เช่าเครื่องเสียงใช้ในงาน = 3,000 บาท
- เตรียมอาหารถวายเพลพระและแขกรับเชิญ 500 หัว(พร้อมอุปกรณ์) หัวละ 85 บาท = 42,500 บาท
- จัดนิทรรศการน้ำแม่ข่า 1 ใน 7 ชัยมงคล = 10,000 บาท
- การดำเนินการติดต่อประสานงาน = 5,500 บาท
- รวมเป็นเงิน = 115,400บาท
ที่มาของงบประมาณ
- ขอรับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
- ขอรับการสนับสนุนจากเทศบาลนครเชียงใหม่
- ขอรับการสนับสนุนจากสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ขอรับการสนับสนุนจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ขอรับการสนับสนุนจากสโมสรไลออนส์ฯ, สโมสรโรตารี่ และสโมสรซอนต้า ซึ่งเป็นโครงการรักษาสิ่งแวดล้อมของแต่ละสโมสร
- ขอรับการสนับสนุนหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน โรงงาน ที่ประกอบธุรกิจในชุมชนหลิ่งกอกและชุมชนศรีมงคล
- ขอรับการบริจาคจากประชาชนโดยทั่วไป
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- มีผู้มาร่วมงานจากทุกภาคส่วน จำนวนไม่น้อยกว่า 500 คน
- ทำให้ทุกคนได้ตระหนักเห็นความสำคัญของน้ำแม่ข่า สร้างและปลุกจิตสำนึก ที่จะร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟู พัฒนา ด้วยมิติทางวัฒนธรรมประเพณีเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ลงชื่อ ลงชื่อ
(นายวัลลภ นามวงศ์พรหม) (นายประยูร ลังกาพินธุ์)
ที่ปรึกษาชุมชนหลิ่งกอก เลขานุการชุมชนหลิ่งกอก
ผู้เสนอโครงการ ผู้เห็นชอบโครงการ
ลงชื่อ ลงชื่อ
(นายคงเดช ธรรมสิทธิ์) (นายรัตน์ ปาละพงศ์)
ประธานชุมชนศรีมงคล ประธานชุมชนหลิ่งกอก
ผู้เห็นชอบโครงการ ผู้อนุมัติโครงการ
ตอนนี้บ้านเมืองกำลังเดือดร้อนมาก ทุกหย่อมหญ้า
จากภัยพิบัติน้ำท่วมครั้งใหญ่
ชื่อโครงการ โครงการจัดกิจกรรมสร้างสำนึกร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูน้ำแม่ข่า ด้วยมิติทางวัฒนธรรม
แต่อ่านดูแล้ว การใช้เงิน115,400บาท เพื่อจัดงานนั้น ไม่น่าจะเหมาะสม
น่าจะนำเอาไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมมากกว่า
รายละเอียดของโครงการ ทำให้รู้สึกเห็นด้วยที่ควร อนุรักษ์และฟื้นฟูน้ำแม่ข่าโดยเร็ว แต่พอเห็นการจัดกิจกรรมแล้ว
เห็นได้ชัดว่า การจัดกิจกรรมนั้น ขัดกับชื่อของโครงการอย่างสิ้นเชิง
การจัดกิจกรรม ที่ใช้งบประมาณถึง 115,400 บาท แต่ไม่มีการจัดงบประมาณเกี่ยวกับการฟื้นฟูแม่น้ำ ในครั้งนี้เลย
เช่น เก็บขยะในแม่น้ำออก บำบัดน้ำเสีย ให้น้ำสะอาดขึ้น จึงไม่เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เลย
ถ้ามีกิจกรรม ที่ทำให้แม่น้ำข่าสะอาดขึ้น เช่น ช่วยกันเก็บขยะออกจากน้ำ อันจะแสดงให้เห็นถึง ความร่วมมือร่วมใจ
ของชุมชน และผู้ร่วมกิจกรรม เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูอย่างแท้จริง และเพื่อให้ชุมชนและผู้ร่วมงาน ได้เล็งเห็นความสำคัญ
และช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำข่าต่อไป
The above notice in Thai has not come with an English translation.
However putting the text into http://translate.google.com/ gives some idea. e.g.:
Restoration project to raise awareness of water conservation “Mae Kha” (Canal).
A project to conserve, restore and to build awareness Mae Kha. The cultural dimension.
On 12th & 13th November 2011
The purpose of the project.
1. To be dedicated in honor of a royal charity. His Majesty the King on the occasion. He was one of the age of 84 years.
2. To preserve the culture and traditions in Yi Peng. The ceremony was to investigate the fate of millions of morale and ceremonies.
3. To create and raise awareness in the community and all sectors to jointly develop, conserve, restore Mae Kha. A recreation area for recreational activities. The quality of life of people in the community better.
4. To earn money to fund surveillance Mae Kha. In order to address the Mae Kok Hlieg community development model. With the integrated or raise a “Hlieg Kok model” sustainable.
5. For the unity of the community.
and the budget:
1. Preparation for camp chair. Place of worship my fish = 10,000 Baht
2. The equipment was destined successor (large) bowl tie the hands = 10,000 Baht
3. The monks alms offered in packs of 12 sets of 500 = 6,000 Baht
4. The consecration ceremony was Buddhist monks, 12 envelopes, envelopes, 1,000 = 12,000 Baht
5. Buy fish from the market 840 @ 10 baht = 8400 baht
6. Buy bread to feed fish 200 loaves @ 40 baht = 8,000 Baht
7.Public address system hire 3,000 Baht
8. Prepare him play and invited guests of the 500 head (with equipment) @ 85 baht = 42,500 Baht
9. exhibitions in 7 Chaimongkol Mae Pin 10,000 Baht
10.Coordination = 5,500 Baht
Total budget = 115,400 Baht
This item originally came in an email notice from the office of Dr Wasan Jompakdee of Chiang Mai University.
Dr Wasan has taken a strong interest in the management of the Mae Kha since an event on Thai Environment Day two years ago this December.
Any observer of the environs of the Mae Kha will notice how unkempt they are in comparison with say the Chiang Mai moat. Two weeks ago I met with the head of the Chiang Mai Municipal Engineering office to ask for some small help to sweep and control weeds in Chang Klang. He told me the city’s priority was to clean around the moat which was seen by many people (albeit driving past in cars or on motor bikes trying to avoid accidents). Too few staff were available to work elsewhere.
Dr Wasan had earlier this year suggested a small crew be assigned to work along the Mae Kha, so the proposal for activities which included no mention of regular maintenance came as a surprise. The budgeted sum of 115,000 baht could have supported two dedicated workers, complete with uniforms and equipment to maintain the Mae Kha for one year and demonstrate to the community that no more was it to be a dumping ground for rubbish.
So my sympathies lie with Angelo, whose comments have been forwarded to Dr Wasan’s office, and so I have found out do those of people working at JJ Market near the Mae Kha. They resent this frivolous expense when so many Thai families are facing great hardship because of the enduring flood in Thailand’s rice bowl.
I would add to Angelo’s comments that presently the Mae Kha is full of fish – Pla Duk Pla Nin & Pla Chon one of the resident fishermen told me. perhaps many of these had escaped from farm dams during the recent short flood in Chiang Mai and so adding more fish to the Mae Kha certainly appears to be a waste of money.
I certainly hope by now that the project has been abandoned as to proceed with it would stain the reputation of Chiang Mai.