“ChiangMai Urban Landscape Model”
– ภูมิประเทศแบบเมืองเชียงใหม่
Over the long history of the development of the Earth countless species of living things have evolved. As a result of this evolution, and given its fortunate geographical position, Thailand has some of the greatest diversity of plant life on Earth. For example there are more species of orchids and also of the ginger family in Thailand than in any other country. The orchids and the gingers, both with their fantastic beauty and variety, however, do not live in isolation. They are plants of the forest, one growing mostly on the branches of trees, the other in the shade beneath them.
· ตลอดระยะเวลาอันยาวนานที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ บนโลก ได้มีวิวัฒนาการมาจนถึงทุกวันนี้
· ผลจากวิวัฒนาการดังกล่าว ทำให้มันเติบโตได้ในทำเลที่เหมาะสม
· ประเทศไทยนั้น มีความหลากหลายของพืชพันธุ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
· ตัวอย่างเช่น มีพันธุ์กล้วยไม้และพืชตระกูลขิงมากกว่าที่แห่งใดในโลก ซึ่งมีความสวยงามและหลากหลาย และอาศัยอยู่ในระแวกเดียวกัน โดยต่างก็เป็นพืชป่า
· กล้วยไม้ส่วนใหญ่นั้น จะอาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ ส่วนพืชตระกูลขิงนั้นจะอาศัยอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้
The trees of our country also show great variation in appearance, form and mode of living, with over 1000 species recorded in the north. Yet for those of us growing up the fertile plains of the valleys, and in the towns and cities, this may come as a surprise. When we look around we see mostly a few varieties of economic trees and of ornamental trees planted for shade and color. Most of the latter either come from distant continents, from Africa, Australia or America or if from Thailand from distant provinces.
· ต้นไม้ในเมืองไทยนั้น มีความหลากหลายในรูปลักษณ์และการเจริญเติบโต ซึ่งมีมากกว่า 1 พันชนิดในภาคเหนือของประเทศ ที่ได้รับการบันทึกไว้
· แต่ทว่า พวกเรานั้นอาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ระหว่างหุบเขา เราอาศัยอยู่ในเขตเมือง ทำให้เราไม่รู้ถึงความหลากหลายดังกล่าว
· เวลาที่เรามองไปรอบๆ ส่วน ใหญ่แล้ว เราก็จะเห็นแต่พืชเศรษฐกิจเพียงไม่กี่ชนิดที่ปลูกขึ้นเพื่อเป็นไม้ประดับที่ ให้ร่มเงาและสีสัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ได้นำเข้ามาจากทวีปแอฟริกา ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกา หรือถ้าเป็นไม้เมืองไทยก็จะมาจากต่างจังหวัดไกลๆ
As a result, our society is so losing touch with the natural world, that we have come to regard living trees as if they were inanimate pieces of furniture, perhaps at times also beautiful, but never-the-less just objects of utility to be shuffled around at will or cut or destroyed. So it is little wonder that we tend to shrug off news that a swathe of trees has gone for a road widening, or that yet another damaging fire sweeps through the forest destroying natural regeneration.
· ด้วย เหตุนี้ เราจึงไม่ค่อยได้สัมผัสกับธรรมชาติของโลกอย่างที่ควร เรามองต้นไม้ราวกับว่า มันไม่มีชีวิต มันเป็นเพียงแค่ไม้ที่มีไว้เพื่อทำเฟอร์นิเจอร์ หรือบางทีก็แค่เป็นไม้ประดับเพื่อความสวยงาม เรามองมันเหมือนเป็นแค่วัตถุที่ให้อรรถประโยชน์ ซึ่งต้องถูกตัดไปเพื่อใช้ตามวัตถุประสงค์
· ฉะนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เรามีแนวโน้มที่จะไม่ใส่ใจกับข่าวเกี่ยวกับการตัดไม้เพื่อทำถนนให้กว้างขึ้น หรือการเผาป่า ซึ่งเป็นการทำลายชีวิตใหม่ในทางธรรมชาติ
With this attitude we stand to loose much of our natural heritage and what makes the place where we live unique.
· ด้วยทัศนคตินี้เอง ทำให้เราละเลยต่อมรดกทางธรรมชาติของเราและต่อสิ่งที่ทำให้ที่ๆ เราอาศัยอยู่มีความเป็นเอกลักษณ์
To counter this we propose here in Chiang Mai we develop a program to reverse this trend and to bring our community, and especially the younger generation, back in touch with nature, and in particular the natural heritage of Chiang Mai.
· เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราจึงได้เสนอและพัฒนาโครงการหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า “ChiangMai Urban Landscape Model”(ภูมิประเทศแบบเมืองเชียงใหม่) เพื่ออนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติของจังหวัดเชียงใหม่และนำชุมชนของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนให้กลับมาสัมผัสกับมรดกทางธรรมชาติของเมือง เชียงใหม่
So here in the city, near our river the Mae Ping we are beginning to replant the trees which grew here in ancient times as an early step in the development of the ChiangMai Urban Landscape Model.
· โดยเริ่มปลูกไม้โบราณที่เป็นต้นไม้ท้องถิ่นของเมืองเชียงใหม่ ตามแม่น้ำปิง ซึ่งถือเป็นขั้นแรกของการพัฒนาโครงการ
Rather than planting trees in the tradition of feudal Europe, evenly spaced and one species, the model copied by the
roads department, our model aims to be true to the natural heritage of the place we plant. This means selecting trees native to the location and its natural diversity, and attempting to restore this diversity in our parks and gardens. Similarly along the roads and lanes of the town we prefer a mix to reduce the problems of loss and disease which can result where only one species is planted.
· เรา คงไม่ปลูกต้นไม้ในแบบดั้งเดิมที่ประเทศในโซนยุโรปทำกัน โดยปลูกเพียงชนิดเดียว แล้วเว้นระยะเท่าๆ กัน ซึ่งการปลูกแบบนี้ได้ถูกนำมาใช้โดยการทางแห่งประเทศไทย แต่รูปแบบที่เราจะเอามาใช้นั้น เรามีวัตถุประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงในทางธรรมชาติของที่ๆ เราปลูก
· นั่น หมายความว่า เราจะเลือกไม้พื้นเมืองของท้องถิ่นนั้นๆ และตามความหลากหลายทางธรรมชาติของมัน และจะพยายามฟื้นฟูความหลากหลายนี้ในสวนสาธารณะและในไร่สวน รวมไปถึงตามถนนหนทางและตรอกซอกซอยต่างๆ ด้วย
· ทั้งนี้ เราเลือกที่จะใช้ความหลากหลายนี้ เพื่อลดปัญหาการสูญเสียและโรคซึ่งเป็นผลมาจากการปลูกไม้เพียงชนิดเดียว
So for example near the river we are guided by remnants of the ancient forests and by a study of similar riverine environments. So for example we find Hopea odorata growing at the Forest Office, Holoptelea integrifolia, Drypetes roxburghii at the McKean Rehabilitation Center, while Anogeissus acuminata grows both in a riverside cemetery, and Aphanamixis polystachya and Dipterocarpus turbinatus on the banks of the Nan River and tributaries of the Ping.
· เราได้ศึกษาพันธุ์ไม้ที่พบตามเขตป่าเก่าที่ยังเหลืออยู่ รวมถึงสภาพแวดล้อมริมแม่น้ำ
· ตัวอย่างเช่น เราพบ ต้นตะเคียนทอง ที่สำนักงานป่าไม้, ต้นกระเชา และต้นมะคำไก่ ที่ศูนย์ฟื้นฟูแมคเคน (สถาบันแมคเคนเพื่อการฟื้นฟูสภาพ)
· ขณะ ที่ต้นตะเคียนหนู เราพบที่ สุสานแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำ เราพบ ต้นขมิ้นดงและต้นยางแดง ที่ริมแม่น้ำน่านและแม่น้ำสายย่อยต่างๆ ของแม่น้ำปิง
Further from the river and streams other species such as Shorea roxburghii and Irvingia malayana and others become prominent until one reaches the Tectona grandis zone at the edge of Doi Suthep.
· สำหรับ พื้นที่ที่ไกลออกไปจากแม่น้ำและลำธาร เราพบไม้ชนิดอื่น เช่น พะยอม กระบก และพันธุ์ไม้อื่นๆ ที่มีความโดดเด่น ยาวจนไปถึงโซนไม้สักที่ขอบของดอยสุเทพ
Along with the issue of selecting the right trees for the right place comes that of their placing and management. As almost all of our local trees have an erect habit growing them near, power lines and large buildings need not pose a problem so long as any pruning is restricted to lateral branches and the tops of the trees are allowed to soar and the root zone is protected from undue disturbance. This means guidelines for tree planting and maintenance are an essential element of our ChiangMai Urban Landscape Model, along with training programs for utility and garden workers and managers.
· การเลือกปลูกต้นไม้ให้เหมาะสมกับทำเลที่ปลูกนั้น นำมาซึ่งการบริหารจัดการ เนื่องจากว่า ไม้พื้นเมืองเกือบทั้งหมดนั้น เป็นไม้ยืนต้น การ ปลูกใกล้เสาไฟฟ้าและตึกอาคารขนาดใหญ่นั้น จำเป็นต้องมีการควบคุม โดยการตัดแต่งกิ่งด้านข้างและให้สูงขึ้นทางด้านบน และมีการดูแลรากจากสิ่งรบกวนที่ไม่เหมาะสม
· เหล่า นี้คือแนวทางสำหรับการปลูกต้นไม้และการบำรุงรักษา ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโครงการนี้ ด้วยการให้การอบรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
As originators of this concept BIG Tree in Town and Gum Hak Doi Suthep welcome community involvement in developing a working model uniquely suited to Chiang Mai.
· ในฐานะผู้ริเริ่มแนวคิด BIG Tree in Town และ Gum Hak Doi Suthep (กลุ่มฮักดอยสุเทพ)
· เราขอเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับจังหวัดเชียงใหม่
NOte: Some spelling corrections have been made and Dipterocarpus turbinatus is in Thai ยางแดง not ยางพลวง which is Dipterocarpus tuberculatus a large tree which dominates the dry Dipterocarp forests.
Need to join this project eagerly.
You are most welcome. We are having short tour and discussion about ChiangMai trees on Saturday 20th August 2016 at 10 a.m.
revised