“ของดีย่านนิมมานฯ”

เรื่อง : ภควัต สัตตะรุจาวงษ์ , เกวลิน พิมพ์สอน , สุพรรษา เก่งมาก
ร่วมกับ ผศ.ดร ปรานอม ตันสุขานันท์ และ คน.ใจ.บ้าน

ของดี ของใคร …?

ย่านนิมมานเหมินท์  พอพูดถึงชื่อนี้ปุ๊บ ภาพของย่านธุรกิจสุดฮิป เต็มไปด้วยร้านค้า ร้านอาหารเก๋ไก๋มี
สไตล์ อินเทรนด์กับบรรยากาศแบบชิลๆ รวมถึงมีแหล่งร้านสังสรรค์ นั่งฟังดนตรียามค่ำคืนหลากหลาย
ก็มักจะผุดขึ้นมาในหัวใครต่อใครไม่มากก็น้อย แม้แต่ในแผนที่ท่องเที่ยวหลาย ๆ ฉบับเอง ก็มักจะชี้ตำ-
แหน่งร้านรวงเหล่านี้ในฐานะที่เป็น “จุดขาย” ของย่าน ให้แก่นักท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้แวะเวียนมากัน

….. แล้วของดีที่เรากำลังพูดถึงคือสิ่งเหล่านี้รึเปล่า? ….

หากมองอีกมุมหนึ่ง ตั้งแต่ยุคบุกเบิกพื้นที่ นิมมานฯ เป็นที่รู้จักในฐานะ “ย่านที่อยู่อาศัยชั้นดี” ใกล้กับ
ความสะดวกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นที่ดินจัดสรรเพื่อการอยู่อาศัยที่แรก ๆ ในเชียงใหม่  มีทั้งอาจารย์
ข้าราชการ คุณหมอ ฯลฯ  เลือกที่จะมาใช้ชีวิตอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่ราว 40 – 50 ปีที่แล้ว หากเรา
ลองเดินเล่นสังเกตดูตามซอกซอยในย่านนิมมานฯ จะเห็นว่ามีบ้านสวยๆ มากมาย ซึ่งหลายหลังเองก็
เป็น  “บ้านสไตล์โมเดิร์น”  ที่เป็นรูปแบบสมัยนิยมในยุคนั้น โดยรับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมจาก
ตะวันตก …….. บ้านในนิมมานฯ จึงไม่ได้เป็นแค่ที่อยู่อาศัย  แต่ยังเป็นหลักฐานที่ควรค่าแก่การศึกษา
ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมในบ้านเราด้วย หรือว่านี่อาจจะเป็นตัวอย่างของ “ของดี” อีกมุมหนึ่งของ
นิมมานฯ ที่สามารถเล่าผ่าน “ผู้อยู่อาศัย” ซึ่งใครต่อใครอาจจะไม่เคยได้นึกถึงเมื่อพูดถึงย่านแห่งนี้

….. แล้วทำไมเราต้องพูดถึงของดีเหล่านี้ด้วยหละ? …..

ชาวนิมมานฯ (ผู้อยู่อาศัย) กับนิมมานฯ ในปัจจุบัน …

นิมมานฯ ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีแต่บ้านเหมือนในอดีต ด้วยความสะดวกสบายของตำแหน่ง
ที่ตั้งของย่าน จึงมีทั้งผู้ประกอบการร้านค้ามากมายเข้ามาลงทุน และ กลายเป็นย่านธุรกิจในสายตาคน
ทั่วไปในที่สุด โดยหนึ่งในประเภทร้านค้าที่ผุดขึ้นจำนวนมากก็คือ ร้านเหล้า นั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่ามีผล
ต่อผู้อยู่อาศัยพอสมควร เช่น เรื่องเสียงยามค่ำคืน หลายคนเองก็เลือกที่จะย้ายออกไปอยู่ที่อื่นในที่สุด
จะเห็นว่าเมื่อมีการประชุมชุมชน ประเด็นแรก ๆ ที่มักหยิบมาพูดถึงกันก็มักเป็นเรื่อง “ปัญหา” เช่น เรื่อง
เสียงดัง เรื่องที่จอดรถ ซึ่งก็แก้ไขประนีประนอมได้เพียงบางส่วน แต่จริง ๆ แล้วอีกอย่างที่เราพอจะเห็น
ได้จากสถานการณ์นี้ก็คือ “พลังชุมชน” ที่มีอยู่ในชาวนิมมานฯ โดยที่ผ่านมาอาจถูกเหนี่ยวนำด้วย “ปัญหา”
เราลองมามองดูอีกมุมหนึ่งว่า ทำไมเราไม่ใช้พลังชุมชนตรงนี้ ช่วยกันพัฒนาพลังบวก สร้างสิ่งดีดีให้กับ
นิมมานฯ ในฐานะที่เป็น “ผู้ร่วมอยู่อาศัย” ในย่านเดียวกันมากกว่าการมองเป็นฝักฝ่ายที่คอยต่อรองปัญหา
ต่อกันก็คงจะดีไม่น้อย จึงเป็นที่มาของการพูดถึงสิ่งดีดี “ของดี” ของย่านนิมมานฯ โดยเริ่มจากมุมมองผู้อยู่
อาศัย ซึ่งมีมุมมองของดีที่หลาย ๆ คนไม่ได้นึกถึง แม้แต่ตัวผู้อยู่อาศัยเอง บ้างก็ไม่ทันได้นึกถึงของดีดี
ใกล้ตัวไปเหมือนกัน เวิร์คชอปเล็ก ๆ ระหว่างการประชุมชาวนิมมานฯ จึงได้เกิดขึ้นจากไอเดียนี้ เพื่อพูดถึง
ของดีที่พวกเขามีและมองเห็นร่วมกัน

เวิร์คชอปม่วน ๆ ช่วยกันทำผัง

ทางทีมผู้เล่าเลยมีโอกาสได้ออกแบบอุปกรณ์สนุก ๆ ทำแผนที่นิมมานฯ วาดมือแล้วให้ชาว
นิมมานฯ ช่วยกันติดสติ๊กเกอร์สี ทั้งตำแหน่งบ้านของตัวเอง เพื่อนบ้าน  พื้นที่ที่ชอบ ร้านอาหารประจำ
และมุมอื่น ๆ  ที่อยากเล่า   รวมทั้งเขียนสิ่งที่คิดว่าเป็นคุณค่ากับความสุขของการอยู่ย่านนิมมานฯ
ดีตรงที่อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยให้ผู้ร่วมประชุมสนุกกับกิจกรรม ได้รู้จักชุมชนตัวเองดีขึ้น มองเห็นสิ่งดี ๆ
หลายอย่างที่หลายคนเห็นว่าเป็นของดีของย่านร่วมกัน เช่น พื้นที่สีเขียว , ความเป็นที่อยู่อาศัยมีคุณภาพ-
สะดวก , อาคารตัวบ้านเก่าที่มีคุณค่า ร้านอาหารที่ชาวนิมมานฯ ชอบ   รวมถึงการมีเพื่อนบ้านที่ดี สิ่งเหล่า
นี้ยังทำให้ย่านนี้ยังน่าอยู่สำหรับพวกเขา แม้เวลาจะเปลี่ยนนิมมานฯ ไปบ้างก็ตาม